วิธีการชาร์จมือถือที่ถูกต้อง
เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต!!

วิธีการชาร์จมือถือที่ถูกต้อง

แบตเตอรี่ชนิด Li-ion
และ Li-Polymer เป็นแบตที่ใช้กันอยู่ในมือถือและแท็บเลทในปัจจุบัน มีข้อแนะนำการชาร์จมือถือจากผู้เชียวชาญในต่างประเทศ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการชาร์จไป และโทรไป เพราะแบตเตอรี่ต้องทำงานมากกว่าปกติถึง 40 เท่าในขณะชาร์จ เมื่อเทียบกับตอนไม่ได้ชาร์จ เนื่องจากขณะใช้มือถือหรือแท็บแล็ตพกพานั้น ใช้แรงดันไฟเพียง 5 และ 10 โวลต์ตามลำดับ แต่เมื่อเสียบสายชาร์จแล้ว หม้อแปลงเล็กในตัวชาร์จ จะรับแรงดันไฟถึง 220 โวลต์จากเต้าเสียบ เพื่อแปลงลงเหลือ 5 โวลย์ให้กับมือถือ ทำให้อุณภูมิขณะชาร์จสูงกว่าเดิม ในระดับ 40-50 องศา และเมื่อใช้มือถือโทรศัพท์ จะเพิ่มการใช้ไฟและความร้อนให้กับมือถือโดยอัตโนมัติ หากแบตใกล้จะหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ จะทำให้ทนต่อแรงดันไฟและความร้อนไม่ได้เหมือนเดิม ก่อให้เกิดการระเบิดตามเป็นที่เป็นข่าว

2. ควรใช้ปลั๊กสามตาแบบสายยาวต่อเป็นเต้าเสียบให้มือถือ จะมีความปลอดภัยสูงกว่าการเสียบมือถือเข้าเต้าเสียบโดยตรง เพราะเต้าเสียบหลายตาแบบสายยาว จะมีฟิวส์และตัวตัดไฟป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หรือการใช้ไฟมากกว่าปกติอยู่แล้ว

3.ไม่ควรชาร์จในขณะที่แบตต่ำกว่า 30% เพราะจะทำให้แบตเสื่อมเร็ว จากผลการทดสอบจากต่างประเทศได้ระบุว่า หากชาร์จแบตเตอรี่ที่ระดับ ระดับแบตเตอรี่อยู่ที่ 35-70% จะดีที่สุด

4.ไม่ควรชาร์จไฟในขณะที่แบตหมดเกลี้ยง ในระดับเปิดเครื่องเปิดไม่ติด (แบตเหลือ 0%) โดยเด็ดขาด เพราะทำให้แบตพังไวมาก เนื่องจากแบตจะต้องรับภาระการการเรียกคืนประจุหรือรอบการชาร์จ มากกว่าการชาร์จขณะแบ็ตยังไม่หมด ซึ่งนอกจากจะใช้ไฟชาร์จมากกว่าเดิมถึง3เท่า ยังทำให้แบตร้อนกว่าเดิมถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับการชาร์จในตอนที่แบตไม่หมด

5.ไม่ต้องกังวลว่าการชาร์จมือถือทิ้งไว้ ในขณะที่แบตเต็ม จะมีปัญหากับแบตหรือไม่ เพราะมือถือและแท็บเลทในปัจจุบันนั้น มีระบบตัดไฟ เมื่อชาร์จแบตจนเต็ม 100%

6. หลีกเลี่ยงการทำมือถือตกพื้น เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียหาย อาจจะทำให้สารเคมีในแบตรั่วไหล หรือขั้วแบตอาจจะหลุดออกมาก็เป็นได้ ซึ่งจะส่งผลให้จ่ายไฟไม่นิ่ง และการใช้งานกับตัวเครื่องมือถือหรือแท็บเลทมีปัญหาได้

7. เวลาชาร์จควรเสียบที่ชาร์จกับปลั๊กไฟก่อน แล้วค่อยเอาหัวชาร์จมาเสียบกับมือถือ-แท๊บเลทอีกที เพื่อป้องกันไฟกระชาก

8. สังเกตุเครื่องหมายรับรองคุณภาพ CE บนแบตแท้ว่ามีหรือไม่ ซึ่ง CE หมายถึง Conformite European เป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิตว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป

มาทำสเปรย์สมุนไพรกันยุงใช้เองกันดีกว่าครับ..?

สเปรย์สมุนไพรกันยุง

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
2. การบูร 50 กรัม
3. ตะใคร้หอม หรือ ตะไคร้สด (ลำต้นขาว) 100 กรัม
4. ผิวมะกรูดสด 50 กรัม
5. กลิ่นตะไคร้หรือมะกรูด (ไม่ใส่ก็ได้) 1 ช้อนชา
6. ผ้าขาวบาง สี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 10x10 นิ้ว 2 ผืน
7. โหลแก้วสำหรับหมัก ขนาด 1-2 ลิตร 1 โหล
8. ขวดสเปรย์สำหรับบรรจุน้ำยากันยุง
9. สลิ้งสำหรับดูดน้ำยาใส่ขวด
10. กิโลเล็กสำหรับชั่ง
11. เขียง มีด
12. ป้ายติดขวด พิมพ์ว่า “สเปรย์สมุนไพรกันยุง”

วิธีการทำ

1. หั่นตะไคร้เอาเฉพาะลำต้นขาวๆ ยาวๆ 1 ซม. ประมาณ 1 ขีด (100 กรัม) ห่อผ้าขาวบาง ผูกเงื่อนให้เรียบร้อย
2. หั่นผิวมะกรูดซอยเล็กๆ ประมาณ ½ ขีด หรือ 50 กรัม ห่อผ้าขาวบ้างเหมือนตะไคร้
3. นำห่อตะไคร้ และห่อผิวมะกรูด วางลงก้นโหลแก้ว
4. นำแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำน้ำหอม(เอทิลแอลกอฮอล์) 1 ลิตร เทใส่โหลแก้ว
5. ใส่การบูร (และกลิ่นตะไคร้หอมหรือมะกรูดลงไป) ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 วัน *-* ระหว่างที่หมักต้องเขย่าโหลแก้วทุกวัน พอครบกำหนด ก็นำมาบรรจุขวด อาจใช้ขวดฝาเกลียวธรรมดาก็ได้ เขียนติดข้างขวดไว้ว่าสเปรย์สมุนไพรกันยุง เพื่อความปลอดภัย

วิธีใช้
1. ใช้ฉีดหรือทาตามผิวกาย ยกเว้นใบหน้า เพื่อป้องกันยุงกัน นานถึง 5 ชั่วโมง
2. ใช้ฉีดไล่มด แมลงสาบ แมลงวัน และแมลงที่ไม่ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัย
3. ใช้ฉีดดับกลิ่นเหม็น กลิ่นอับ
เขาบอกว่าสเปรย์สมุนไพรกันยุงนี้เด็กหรือผู้สูงอายุก็ใช้ได้